เมนู

อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว
ทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 10 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สญฺโญชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ 10. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทำลายสังโยชน์ 10 เหล่านั้นด้วยมรรคนั้น ๆ. บทว่า อสนฺตสํ ชีวิต-
สงฺขยมฺหิ ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต คือความแตกแห่งจุติจิต ท่านเรียกว่า
ความสิ้นชีวิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิตนั้น เพราะ
ละความเยื่อใยในชีวิตได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าครั้นแสดงสอุปาทิ-
เสสนิพพานธาตุของคนแล้ว เมื่อจบคาถาก็ได้ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุ-
ปาทิเสสนิพพานธาตุด้วยประการฉะนี้.
จบคาถาที่ 10

คาถาที่ 11


41) ภชนฺติ เสวนฺติ จ การณตฺถา
นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา
อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.